เกี่ยวกับคณะ

300x701

ประวัติความเป็นมาคณะวิทยาการจัดการ

       คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ก่อตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2527 ที่ได้กำหนดในมาตรา 5 ให้วิทยาลัยครูสามารถเปิดสอนในสาขาวิชาอื่น ๆ ได้ และเปิดรับนักศึกษารุ่นแรกเมื่อปี พ.ศ. 2528 ในระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี 2 สาขาวิชา คือ บริหารธุรกิจ และเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ ต่อมาจึงเปิดสอนเพิ่มอีก 1 สาขาวิชา คือ วารสารและการประชาสัมพันธ์ ระดับอนุปริญญาและปริญญาตรีตามลำดับ

     คณะวิทยาการจัดการ เป็นหนึ่งในห้าคณะของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ในการเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อผลิตบัณฑิตและมุ่งเน้นการกระจายโอกาสการศึกษาไปสู่ผู้ด้อยโอกาส และในบริการทางวิชาการแก่สังคมเพื่อให้บุคลากรในท้องถิ่นมีความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพ เป็นแบบอย่างที่ดีและพึ่งพาตนเองได้ ทั้งนี้ด้วยความมุ่งมั่นด้วยปณิธานอันแน่วแน่ ที่จะพัฒนาคณะวิทยาการจัดการให้มีศักยภาพ ความพร้อมและความคล่องตัวในการปฏิบัติภารกิจทั้งการผลิตบัณฑิต การวิจัย การให้บริการทางวิชาการแก่สังคม การเผยแพร่และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม จึงทำให้ชื่อเสียงของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เป็นที่รู้จักและยอมรับในสังคมอย่างกว้างขวาง

ปรัชญา

บูรณาการศาสตร์สากล สู่ชุมชนท้องถิ่น
(Integration of Global Thought to Local community)

วิสัยทัศน์

เป็นเสาหลักทางธุรกิจให้ท้องถิ่นและสังคม

(The Business Pillar For Local Communities and Society)

พันธกิจ

  1. จัดการศึกษาด้านการจัดการธุรกิจสำหรับทุกช่วงวัยให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและสังคม
  2.  สร้างสรรค์งานวิจัย องค์ความรู้ และภูมิปัญญา เพื่อบริการวิชาการด้านการจัดการธุรกิจที่นำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาชุมชนสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและสังคม
  3. ทำนุบำรุงและสืบสานศิลปวัฒนธรรมให้เกิดคุณค่าแก่ชุมชนและสังคม
  4. พัฒนาระบบบริหารจัดการและบุคลากรแบบมีส่วนร่วมตามหลักธรรมาภิบาล

ค่านิยม

                                                                       Faculty of Professional : MEANS

  • Management mindset มีกรอบความคิดด้านการจัดการธุรกิจอย่างมืออาชีพ
  • Excellence มุ่งเน้นความเป็นเลิศ
  • Agility มุ่งเน้นการปรับตัวให้เท่าทันสถานการณ์
  • Network มุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วน
  • Skill-based approach มุ่งเน้นการสร้างทักษะและประสบการณ์