tm

ช่องทางติดต่อสาขา

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการบริการ
ระดับปริญญาตรี 4 ปี

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการบริการ

ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Business Administration Program in Tourism and Hospitality Management

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม (ไทย) : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการการท่องเที่ยวและการบริการ)

ชื่อย่อ (ไทย) : บธ.บ. (การจัดการการท่องเที่ยวและการบริการ)

ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Business Administration (Tourism and Hospitality Management)

ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.B.A. (Tourism and Hospitality Management)

คณะกรรมการบริหารสาขาวิชา
  1. อ.ศราวุธ ผิวแดง   หัวหน้าสาขาวิชา           
  2. ผศ.พิมพ์สิริ ชูศรีโฉม         
  3. อ.นรเพชร ฟองอ่อน          
  4. อ.ปิยะภรณ์ ไพทยาภรณ์      
  5. อ.สาวิณีย์   พลเยี่ยม          
  6. ผศ.วฤธรณ์  ตุลย์ณวัฒน์     
  7. อ.จิรพร   จันลา              
ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ปรัชญา

ผลิตบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการบริการให้เป็นผู้มีความรู้ ศักยภาพ และมีทักษะในการจัดการวิชาชีพการท่องเที่ยว รักงานด้านการบริการ มีคุณธรรม จริยธรรมในการประกอบอาชีพและมีความสามารถพัฒนาทักษะ เพื่อตอบสนองความก้าวหน้าด้านเศรษฐกิจและสังคมระดับท้องถิ่นและระดับประเทศความสำคัญ
1. เป็นหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติเพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะทางวิชาชีพทางด้านการท่องเที่ยวและการบริการ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต
2. เป็นหลักสูตรที่ผสมผสานศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวและการบริการกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อให้ผู้เรียนนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพทางด้านบริหารธุรกิจ และทางด้านงานบริการได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์
3. เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวและการบริการ มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะดังนี้
1. มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตบริการและความรับผิดชอบต่อสังคมตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
2. มีความรอบรู้ทางวิชาการ และทักษะทางวิชาชีพในศาสตร์ทางการท่องเที่ยวและการบริการ มีความสามารถในการปฏิบัติงาน การให้บริการ และบริหารจัดการเทียบเท่ากับมาตรฐานสมรรถนะทางวิชาชีพในภูมิภาคอื่นของโลก
3. มีทักษะการวิเคราะห์สถานการณ์โดยประยุกต์ใช้ความรู้ เหตุผลและวิจารณญาณอย่างเหมาะสมเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ต่าง ๆ
4. มีบุคลิกภาพดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นในทุกระดับได้อย่างเหมาะสม สามารถพัฒนาตนเอง ทั้งด้านความรู้และทักษะวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
5. มีประสิทธิภาพในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและภาษาต่างประเทศได้อย่างน้อย 1 ภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ รวมทั้งสื่อสารข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม
6. มีความรู้และความสามารถในการใช้เทคนิคพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในการประมวลและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวางแผน การจัดการ และการพัฒนา

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
  1. อาชีพมัคคุเทศก์ในราชอาณาจักรไทย
  2. ผู้นำเที่ยว (Tour Leader) นำนักท่องเที่ยวไทยไปยังต่างประเทศ
  3. เจ้าหน้าที่แผนกขาย แผนกปฏิบัติการ แผนบริการ ภายในบริษัทนำเที่ยว
  4. ผู้ประกอบการบริษัทนำเที่ยว การบริการการท่องเที่ยว
  5. นักพัฒนาการท่องเที่ยว
  6. นักวิชาการการท่องเที่ยว
  7. ผู้ช่วยนักวิจัยการท่องเที่ยว
  8. เจ้าหน้าที่สารสนเทศด้านการท่องเที่ยว
  9. พนักงานสายการบิน
  10. พนักงานโรงแรม ภัตตาคาร
ระบบการจัดการศึกษา
  1. ระบบ

                 การจัดการศึกษาเป็นแบบระบบทวิภาค โดยหนึ่งปีการศึกษา แบ่งเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ และอาจจัดให้มีภาคฤดูร้อน โดยกำหนดระยะเวลาไม่น้อยกว่า 8 สัปดาห์

  1. การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน

                 ไม่มีการจัดการเรียนการสอนภาคฤดูร้อน อาจมีการจัดการเรียนการสอนภาคฤดูร้อน ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของอาจารย์ประจำหลักสูตร

  1. การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค

ไม่มี

การดำเนินการหลักสูตร

  1. วัน – เวลา ในการดำเนินการเรียนการสอน

1.1 ระยะเวลาการศึกษา

1.1.1 ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนมิถุนายน – เดือนตุลาคม

1.1.2 ภาคการศึกษาที่ 2  เดือนพฤศจิกายน – เดือนมีนาคม

1.1.3 ภาคฤดูร้อน (ถ้ามี)  เดือนเมษายน – เดือนพฤษภาคม

ใช้เวลาการศึกษาไม่เกิน 8 ปีการศึกษา สำหรับการลงทะเบียนเรียนเต็มเวลา และไม่เกิน 12 ปีการศึกษา สำหรับการลงทะเบียนเรียนไม่เต็มเวลา

  1. การลงทะเบียนเรียน

2.1 จำนวนหน่วยกิตการลงทะเบียนเรียน

ให้ลงทะเบียนเรียนได้ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต และไม่เกิน 22 หน่วยกิต ในแต่ละภาคการศึกษาปกติ และไม่เกิน 9 หน่วยกิต สำหรับการศึกษาภาคฤดูร้อน หากต้องการลงทะเบียนเรียนนอกเหนือจากนี้ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2561 หมวด 7 (ภาคผนวก ค.)

2.2 ระยะเวลาการลงทะเบียนเรียน

เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรีพ.ศ. 2561หมวด 7 (ภาคผนวก ค)

  1. การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีว่าด้วย การศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2561 หมวด 8 และหมวด 9 (ภาคผนวก ค)

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

    1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า
    2.  ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
    3. เป็นไปตามข้อกำหนดของอาจารย์ประจำหลักสูตรหรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตร