fn

ช่องทางติดต่อสาขา

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
สาขาวิชาการเงิน
ระดับปริญญาตรี 4 ปี

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย     : หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน

ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Business Administration Program in Finance

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม (ไทย)     :   บริหารธุรกิจบัณฑิต (การเงิน)

ชื่อย่อ (ไทย)      :   บธ.บ. (การเงิน)

ชื่อเต็ม (อังกฤษ) :   Bachelor of Business Administration (Finance)

ชื่อย่อ (อังกฤษ) :   B.B.A. (Finance)

คณะกรรมการบริหารสาขาวิชา
  1. อ.สุพจน์ สกุลแก้ว             หัวหน้าสาขาวิชา
  2. ผศ.โชคชัย เดชรอด       
  3. อ.ศตพร ภูกองไชย         
  4. อ.อารยา โพธิศิริ        
  5. อ.เสาวนีย์ สิทธิโชติ       
  6. อ.สุพักตร์ มะกุล            
  7. อ.ปริญญา กันหาสินธุ์      
ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ปรัชญา

มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถ มีทักษะด้านการจัดการการเงิน และมีคุณธรรม จริยธรรม สามารถนำความรู้ไปปฏิบัติในองค์กรธุรกิจและประกอบอาชีพของตนเองได้

ความสำคัญ

เป็นหลักสูตรที่จัดการเรียนกรสอนให้ผู้เรียนให้เกิดทักษะทางด้านการเงินเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต โดยผสมผสานศาสตร์ด้านการเงินกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อให้ผู้เรียนนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพทางด้านบริหารธุรกิจและทางการเงินได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ รวมถึงมุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะดังนี้

  1. มีความรู้ความเข้าใจในด้านการจัดการการเงินทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านการเงินกับการดำเนินธุรกิจได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
  2. มีความคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ และมีเหตุผล คิดอย่างสร้างสรรค์ สามารถบูรณาการความรู้ทางด้านการเงินที่ศึกษาและประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไปได้อย่างเหมาะสม
  3. มีความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม แสดงภาวะผู้นำผู้ตามได้อย่างเหมาะสมสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
  4. มีทักษะในการแสวงหาความรู้ และสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
  5. มีใจรักและมุ่งมั่นในอาชีพทางดานการเงิน พร้อมปฏิบัติงานภายใต้หลักคุณธรรมและจริยธรรม และมีความซื่อสัตย์ในวิชาชีพ
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
  1. พนักงานธนาคาร
  2. นักวิเคราะห์หลักทรัพย์และผู้จัดการกองทุน
  3. นักวิชาการสรรพากร
  4. นักวิชาการเงินและการคลัง
  5. นักวางแผนการเงิน
  6. เจ้าหน้าที่สินเชื่อ
  7. เจ้าหน้าที่ประกันภัย
ระบบการจัดการศึกษา
  1. ระบบ
    การจัดการศึกษาเป็นแบบระบบทวิภาค โดยหนึ่งปีการศึกษา แบ่งเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ และอาจจัดให้มีภาคฤดูร้อน โดยกำหนดระยะเวลาไม่น้อยกว่า 8 สัปดาห์
  1. การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน
    การจัดการเรียนการสอนภาคฤดูร้อน ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
  1. การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค
    ไม่มี

การดำเนินการหลักสูตร

  1. วัน – เวลา ในการดำเนินการเรียนการสอน

1.1 ระยะเวลาการศึกษา

1.1.1 ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนมิถุนายน – เดือนตุลาคม

1.1.2 ภาคการศึกษาที่ 2  เดือนพฤศจิกายน – เดือนมีนาคม

1.1.3 ภาคฤดูร้อน         เดือนเมษายน – เดือนพฤษภาคม

ใช้เวลาการศึกษาไม่เกิน 8 ปีการศึกษา สำหรับการลงทะเบียนเรียนเต็มเวลา และไม่เกิน 12 ปีการศึกษา สำหรับการลงทะเบียนเรียนไม่เต็มเวลา

  1. การลงทะเบียนเรียน

2.1 จำนวนหน่วยกิตการลงทะเบียนเรียน

ให้ลงทะเบียนเรียนได้ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต และไม่เกิน 22 หน่วยกิต ในแต่ละภาคการศึกษาปกติ และไม่เกิน 9 หน่วยกิต สำหรับการศึกษาภาคฤดูร้อน หากต้องการลงทะเบียนเรียนนอกเหนือจากนี้ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2559 หมวด 7 (ภาคผนวก ค.)

2.2 ระยะเวลาการลงทะเบียนเรียน

เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรีพ.ศ. 2559หมวด 7 (ภาคผนวก ค)

  1. การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีว่าด้วย การศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2559หมวด 8 และหมวด 9 (ภาคผนวก ค)

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

  1. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย(ม.6) หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) หรือเทียบเท่า
  2. 2. เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2559 หมวด 5 (ภาคผนวก ค)
  3. เป็นไปตามข้อกำหนดของอาจารย์ประจำหลักสูตรหรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตร