ec

ช่องทางติดต่อสาขา

 เศรษฐศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
ระดับปริญญาตรี 4 ปี

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย     : เศรษฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเศรษศาสตร์ธุรกิจ

ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Economics Program in Business Economics

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม (ไทย)     :   เศรษฐศาสตรบัณฑิต(เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ)

ชื่อย่อ (ไทย)      :    ศ.บ.(เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ)

ชื่อเต็ม (อังกฤษ) :   Bachelor of Economics (Business Economics)

ชื่อย่อ (อังกฤษ) :   B.Econ. (Business Economics)

คณะกรรมการบริหารสาขาวิชา
  1. ผศ.พัชฎาภรณ์ แสงทามาตย์               หัวหน้าสาขาวิชา
  2. ผศ.ดร.ศุภกฤต ปิติพัฒน์                   กรรมการสาขาวิชา
  3. ดร.ชาลี เกตุแก้ว                            กรรมการสาขาวิชา
  4. อ.ปราการ พิพัฒน์สูงเนิน                   กรรมการสาขาวิชา
  5. อ.สาวิณี สุริยันรัตกร                        กรรมการสาขาวิชา
  6. ดร.สมคิด นาพรม                           กรรมการสาขาวิชา
  7. อ.ศักรินทร์ วังคะฮาด                       เลขานุการสาขาวิชา
ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ปรัชญา

ผลิตบัณฑิตทางด้านเศรษฐศาสตร์ที่มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์กับการตัดสินใจทางธุรกิจที่มีคุณธรรมอย่างมืออาชีพ

ความสำคัญ

                    การพัฒนาหลักสูตรเศรษฐศาสตร์บัณฑิต มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตนักวิชาการและนักวิจัยระดับปริญญาตรี เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบการศึกษาและการวิจัย เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย สอดคล้องกับยุทธศาสตร์แผนการพัฒนาประเทศฉบับที่11มีเป้าหมายในการสร้างภูมิคุ้มกันในประเทศให้เข้มแข็งขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมคนในสังคม และระบบเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนและสังคมไทยให้มีคุณภาพ และในปัจจุบันการแข่งขันการศึกษาในระดับสากลได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจทำให้มีความต้องการบุคลากรด้านเศรษฐศาสตร์ โดยมีนโยบายของรัฐบาลที่สนับสนุนกองทุนกู้ยืมทางการศึกษา มีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเรียนการสอนที่ทันสมัยได้อย่างต่อเนื่อง และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีมีศักยภาพที่โดดเด่นด้วยประสบการณ์ในการจัดการศึกษาด้านบริการธุรกิจมากกว่า 30 ปี มีสถานที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง และการคมนาคมสะดวก มีความหลากหลายของสาขาวิชาชีพด้านการบริหารจัดการและด้านเศรษฐศาสตร์ที่ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ตรงตามความต้องการ มีอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถความเชี่ยวชาญและทักษะด้านการจัดการศึกษา มีผู้สำเร็จการศึกษาเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานและสามารถประกอบอาชีพอิสระได้หลากหลาย และศิษย์เก่าเป็นผู้มีชื่อเสียงในภาครัฐและเอกชน ประกอบกับการแข่งขันด้านการให้บริการการศึกษาในระดับปริญญาตรีในเขต พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนซึ่งเป็นพื้นที่การให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มีการแข่งขันในระดับที่สูง

                   จากโอกาสและศักยภาพดังกล่าวมาข้างต้นทำให้คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรเศรษฐศาสตร์บัณฑิตเพื่อผลิตนักวิชาการและนักวิจัยในระดับปริญญาตรีในการพัฒนาบุคคลากรเพื่อรองรับการแข่งขันอย่างเสรีทางด้านแรงงานภายในกลุ่มประเทศอาเซียนซึ่งจะเป็นประโยชน์กับประเทศไทยในการขยายโอกาสทางการค้า การลงทุน และการบริการ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น

          วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

          เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้

  1. มีคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย มีจิตสำนึกสาธารณะ และเห็นคุณค่าของศิลปะและวัฒนธรรม
  2. มีความรู้ทางทฤษฎี และเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ที่ทันสมัย พร้อมทั้งเข้าใจโครงสร้างเศรษฐกิจสังคมไทยและสังคมโลก
  3. มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ เป็นเหตุเป็นผลอย่างเป็นระบบ เพื่อบูรณาการองค์ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ธุรกิจเพื่อการตัดสินทางธุรกิจอย่างเหมาะสม
  4. มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ คิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความเป็นผู้นำ และพัฒนาตนเองทั้งด้านความรู้ ทักษะทางวิชาการและทำงานร่วมกับบุคคลอื่นได้ทุกระดับ
  5. สามารถใช้คณิตศาสตร์สถิติและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาตร์และธุรกิจได้อย่างเหมาะสม
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
  1. นักเศรษฐศาสตร์ / เศรษฐกร
  2. นักวิชาการวิเคราะห์นโยบายและแผนทั้งของภาครัฐและเอกชน
  3. นักวิจัยทางเศรษฐศาสตร์และธุรกิจ
  4. นักวิเคราะห์การลงทุนทางธุรกิจ
  5. พนักงานธนาคารและธุรกิจเอกชน
  6. นักวิชาการสายสังคมศาสตร์
  7. นักบริหารทั้งของภาครัฐและเอกชน
  8. ที่ปรึกษาทางธุรกิจ
  9. ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในท้องถิ่น
  10. ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรระหว่างประเทศอาทิเช่นธนาคารโลกกองทุนการเงินระหว่างประเทศธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศเป็นต้น
  11. นักวิเคราะห์ระบบนักเศรษฐศาสตร์เฉพาะทางอาทิเช่นนักเศรษฐศาสตร์ดิจิทัลและนวัตกรรมนักเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขนักเศรษฐศาสตร์พลังงานนักเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมเป็นต้น
  12. ข้าราชการพนักงานของรัฐในกระทรวงการคลังกระทรวงพาณิชย์เป็นต้น