ac

หลักสูตรบัญชีบัณฑิต
สาขาวิชาการบัญชี
ระดับปริญญาตรี 4 ปี

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย: หลักสูตรบัญชีบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Accountancy Program

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม (ไทย)     :   บัญชีบัณฑิต

ชื่อย่อ (ไทย)      :   บช.บ.

ชื่อเต็ม (อังกฤษ) :   Bachelor of Accountancy

ชื่อย่อ (อังกฤษ) :   B.Acc.

คณะกรรมการบริหารสาขาวิชา
  1. ผศ.วันวิสา เนื่องสมศรี                    หัวหน้าสาขาวิชา
  2. ผศ.ดร.รชต สวนสวัสดิ์
  3. ผศ.ดร.ชนัญฎา สินชื่น
  4. ผศ.เบญญาภา โสอุบล
  5. ผศ.ขนิษฐา ศักดิ์สุรีย์มงคล
  6. ผศ.ปิญะธิดา อมรภิญโญ
  7. ผศ.อรชุมา มูลศรี
  8. ผศ.ประนมพร ข่าขันมาลี
  9. ดร.ธัญญ์นิธิ จิรพัฒนาพรสิน
  10. อ.กนกกานดา ใต้จันทร์กอง
  11. อ.มนันญา ทองบ่อ
  12. อ.กัญญา แสนนามวงษ์
ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

 ปรัชญา

          มุ่งผลิตบัญชีบัณฑิตให้มีคุณธรรม จริยธรรม  มีความรู้ มีทักษะทางปัญญา เพื่อใช้ประกอบวิชาชีพบัญชี และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยเพื่อสร้างสรรค์งานที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม 

ความสำคัญ

          จากแผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี (พ.ศ. 2561- พ.ศ. 2580) อธิบายว่า “อุดมศึกษาเป็นหัว

รถจักรในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ปฏิรูปการศึกษาอุดมศึกษาทั้งระบบ และสร้างโอกาสในการเปลี่ยนแปลงการศึกษาทั้งระบบของประเทศ” โดยอุดมศึกษาต้องเป็นสมองของประเทศ ในการคิดวิเคราะห์เชิงรุก มีทฤษฎี มีตรรกะ สามารถสร้างสรรค์ นวัตกรรม แสวงหาทางเลือกใหม่ และสร้างรากฐานการวิจัยเพื่อขับเคลื่อนชุมชนและสังคมในการพัฒนาประเทศ แผนต้องนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบบอุดมศึกษา ปัจจุบันการจัดการเรียนศึกษาไทยในระดับการอุดมศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพได้ และเน้นการสร้างบัณฑิตและพัฒนากำลังคนทุกช่วงวัย ให้เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และสมรรถนะที่จำเป็น และสามารถรับทุกการเปลี่ยนแปลงได้ อีกทั้งต้องร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ทั้งรัฐ เอกชน ชุมชน และภาคประชาสังคม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของสังคมรอบรู้ (Knowledge Society) และนำพาประเทศให้มีการพัฒนาต่อไป 

การผลิตบัณฑิตมีคุณสมบัติตามลักษณะเบื้องต้นจะเป็นส่วนหนึ่งในการปรับเปลี่ยนสังคมไทย จากสังคมที่มีความขัดแย้งไปสู่สังคมที่มีความสมานฉันท์ ใช้เหตุผลที่สังคมส่วนใหญ่ยอมรับได้เป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติของบุคคล  ซึ่งแม้การจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรบัญชีบัณฑิตในปัจจุบันจะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอนและสอดแทรกเนื้อหาที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาให้ทันสมัยอยู่เสมอ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานทางวิชาชีพบัญชีแต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อการพัฒนาบัญชีบัณฑิตให้มีคุณภาพมากนักเมื่อเทียบกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยในปัจจุบัน อีกทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย ที่เน้นการสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำในระดับภูมิภาคอินโดจีน ที่มุ่งเน้นการจัดการศึกษาและพัฒนาวิชาการโดยการบูรณาการศาสตร์สากล และภูมิปัญญาไทยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ซึ่งผู้ประกอบการที่อยู่ในชุมชนท้องถิ่นส่วนใหญ่มีความรู้ในการดำเนินธุรกิจนั้น ๆ เป็นอย่างดี แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องรู้เพิ่มเติม นั้นก็คือเรื่องของการบัญชีและภาษีอากร เพราะกฎหมายได้กำหนดให้ผู้ประกอบการมีหน้าที่ในการทำบัญชีและเสียภาษี หากผู้ประกอบการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมายดังกล่าว อาจทำให้ผู้ประกอบการต้องจ่ายภาษีสูงกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งแนวปฏิบัติด้านภาษีอากรนั้นมีความซับซ้อนและยากในการทำความเข้าใจ ผู้ประกอบการจึงต้องการนักบัญชีที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการภาษีอากร

ดังนั้น หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (ปรับปรุง พ.ศ. 2564) จึงได้กำหนดโครงสร้างหลักสูตรซึ่งประกอบด้วย รายวิชาที่มีอัตลักษณ์ของหลักสูตรโดยเน้นไปที่กลุ่มรายวิชาความรู้เกี่ยวกับภาษีอากร เพื่อให้บัณฑิตมีความเชี่ยวชาญด้านภาษีอากร อีกทั้งยังสามารถมีความรู้อย่างเพียงพอเพื่อเตรียมตัวในการเข้ารับการทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร รวมทั้งได้มีการปรับปรุงชื่อวิชาและเนื้อหาของรายวิชา ให้สอดคล้องกับมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการบัญชี พ.ศ. 2562 และเป็นไปตามข้อกำหนดของสภาวิชาชีพบัญชี เพื่อให้ได้บัญชีบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานทางวิชาชีพบัญชี ให้มีความสามารถในการเรียนรู้และติดตามการเปลี่ยนแปลงในศาสตร์ทางการบัญชีและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงสังคมและของโลก รวมถึงให้สอดคล้องตามปรัชญาการอุดมศึกษา ในการขับเคลื่อนชุมชนและสังคมในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า

วัตถุประสงค์

เพื่อผลิตบัญชีบัณฑิตที่มีคุณลักษณะ ดังนี้

1.3.1 มีคุณธรรมจริยธรรม ยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ

และสังคม

           1.  มีความรอบรู้ในศาสตร์ทางการบัญชีและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง สามารถบูรณาการและประยุกต์ความรู้ได้อย่างเหมาะสม และมีทัศนคติที่ดีต่อการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

           2.  มีทักษะทางวิชาชีพบัญชี สามารถใช้ดุลยพินิจเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ และมีคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการ

           3.  มีความคิดสร้างสรรค์และความรับผิดชอบในงานที่ทำร่วมกับผู้อื่น รวมถึงสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น ร่วมมือรวมพลังเพื่อสร้างสรรค์การพัฒนาวิชาชีพการบัญชี

           4.  มีความสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย และสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

ผู้ที่สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบวิชาชีพบัญชี ทั้งในลักษณะของการประกอบวิชาชีพอิสระ และการทำงานในองค์กรของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน อาจประกอบด้วย
1. พนักงานบัญชี / เจ้าพนักงานบัญชีการเงิน ทั้งภาครัฐและเอกชน
2. ผู้สอบบัญชีภาษีอากร
3. ผู้ตรวจสอบภายใน
4. ครูผู้สอน ทั้งภาครัฐและเอกชน
5. พนักงานธนาคาร / พนักงานสินเชื่อ
6. ผู้ประกอบการธุรกิจ